หลักฐาน ของ การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา)

งานวิจัยตามยาว

ความเป็นหมัน

ในบรรดาคู่รักต่างเพศที่มีบุตรยาก การรับมือโดยใช้อารมณ์พยากรณ์อาการซึมเศร้าที่ลดลงสำหรับทั้งคู่หลังจากได้ลองผสมเทียมที่ไม่สำเร็จ[21]การรับมือโดยใช้อารมณ์อาจจะมีประโยชน์กับคู่ชีวิตคือมีหลักฐานว่า การมีคู่ชีวิตเพศชายที่รับมือโดยใช้อารมณ์มีผลป้องกันอาการซึมเศร้าในคู่เพศหญิงผู้ที่ระดับการรับมือด้วยอารมณ์ต่ำ[21]

การถูกทำร้ายทางเพศ

การรับมือโดยใช้อารมณ์อาจมีประโยชน์กับผู้ถูกทำร้ายทางเพศในบรรดาผู้ถูกทำร้ายทางเพศ การเพิ่มการแสดงอารมณ์สัมพันธ์กับความรู้สึกว่าตนสามารถควบคุมกระบวนการฟื้นสภาพได้ และความรู้สึกว่าควบคุมได้สัมพันธ์กับความทุกข์ที่น้อยลงหลังเหตุการณ์[22]

มะเร็งเต้านม

มีหลักฐานไม่ชัดเจนว่า การรับมือโดยใช้อารมณ์มีผลต่อตัวอย่างหญิงที่มีมะเร็งเต้านมหรือไม่คือ ในการศึกษาตามยาวในหญิงที่มีมะเร็งเต้านม หญิงที่รู้สึกว่าสังคมของตนสามารถรับการแสดงอารมณ์ได้ การแสดงอารมณ์ก็จะพยากรณ์คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น[23]การรับมือโดยใช้อารมณ์ในหญิงที่มีมะเร็งเต้านมยังพยากรณ์สภาพทางจิตใจที่เจริญขึ้นหลังเหตุการณ์อีกด้วย (Posttraumatic growth)[24]แต่ว่าก็ยังมีงานศึกษาอื่น ๆ ที่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงอารมณ์และสภาพทางจิตใจที่เจริญขึ้นหลังเหตุการณ์[25]

งานศึกษาตามขวาง

นักศึกษาและชุมชน

งานศึกษาตามขวางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือโดยใช้อารมณ์กับการปรับตัวทางจิตเชิงบวก ในสถานการณ์บางอย่างสำหรับนักศึกษาและตัวอย่างจากชุมชนในงานศึกษาตามขวางของนักศึกษาหญิงปริญญาตรี ผู้ที่รับมือปัญหาโดยใช้อารมณ์มากกว่าจะรายงานความคิดเชิงบวกมากกว่าและความคิดเชิงลบน้อยกว่า[26]ส่วนในตัวอย่างชุมชนของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา การรับมือโดยใช้อารมณ์สัมพันธ์ในเชิงลบกับความโกรธ ความวิตกกังวลที่เป็นลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) และอาการซึมเศร้า[27]นอกจากนั้นแล้ว หญิงที่รายงานการประมวลอารมณ์เป็นนิสัยในระดับสูงกว่ายังรายงานอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลที่น้อยกว่า และความพอใจในชีวิตที่สูงกว่าและสำหรับชาย การแสดงอารมณ์เป็นนิสัยสัมพันธ์กับความพอใจในชีวิตที่สูงกว่า[16]

ตัวอย่างคนไข้ความผิดปกติทางจิต

มีหลักฐานบ้างที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการรับมือโดยใช้อารมณ์กับความเป็นสุขทางใจในงานศึกษาบุคคลที่ผ่านเกณฑ์ DSM-IV สำหรับความผิดปกติแบบวิตกกังวลเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ปกติ ระดับการรับมือโดยใช้อารมณ์จะต่ำกว่าในบุคคลที่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัย[28]

ส่วนอีกงานศึกษาหนึ่งตรวจสอบทหารผ่านศึกแล้วพบว่า ผู้ที่มีระดับการแสดงอารมณ์สูงกว่า (แต่ไม่เป็นสำหรับผู้ที่มีระดับการประมวลอารมณ์สูงกว่า) สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าที่ลดลง และกับระดับที่ต่ำกว่าของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) แม้ว่าจะได้ควบคุมอายุ เพศ และเชื้อชาติแล้วโดยสถิติ[29]

ตัวอย่างคนไข้โรคมะเร็ง

งานศึกษาตามขวางของตัวอย่างคนไข้โรคมะเร็งพบความสัมพันธ์ทั้งในเชิงบวก เชิงลบ และผสมเผสกับการรับมือโดยใช้อารมณ์การประมวลและแสดงอารมณ์ระดับสูงในหญิงผู้รอดชีวิตจากโรค สัมพันธ์กับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่าและกับอารมณ์เชิงลบที่ต่ำกว่า[30]ส่วนในชายผู้รอดชีวิต การประมวลอารมณ์ที่สูงกว่าสัมพันธ์กับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่า และการแสดงอารมณ์ที่สูงกว่าสัมพันธ์กับอารมณ์เชิงลบที่ต่ำกว่า และกับความคิดที่ไม่ต้องการน้อยกว่า[30]

แต่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่าการรับมือโดยใช้อารมณ์กับการปรับตัวทางจิตไม่ใช่เป็นบวกทั้งหมด เพราะมีทั้งแบบลบแบบผสมในงานศึกษาในหญิงที่ได้ผลผิดปกติจากการคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่ การประมวลอารมณ์ในระดับสูงสัมพันธ์กับความคิดที่ไม่ต้องการที่สูงกว่า และทั้งการประมวลและแสดงอารมณ์ไม่สัมพันธ์กับสภาพทางจิตใจที่เจริญขึ้นหลังเหตุการณ์ (Posttraumatic growth)[31]

ตัวอย่างคนไข้โรคเบาหวาน

มีงานศึกษาตามขวางที่แสดงประโยชน์ของการประมวลอารมณ์สำหรับคนไข้โรคเบาหวานคือในบรรดาคนไข้โรคเบาหวานแบบ 2 การประมวลอารมณ์ที่สูงกว่าสัมพันธ์กับความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับยาตามหมอสั่ง และพฤติกรรมดูแลตัวเองเช่น การลดอาหาร การออกกำลังกาย และการตรวจน้ำตาลในเลือดที่ดีกว่า[32]และโดยนัยเดียวกัน สำหรับคนไข้วัยรุ่นโรคเบาหวานแบบ 1 การประมวลอารมณ์สัมพันธ์กับการควบคุมเมแทบอลิซึมที่ดีกว่า[33]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) http://www.biomedcentral.com/1471-2474/10/107/abst... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01638... http://psp.sagepub.com/content/30/5/558 http://psp.sagepub.com/content/33/2/238 http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1467-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1547-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1755-... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2749806 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2911487 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3237825